บทสวดมนต์วันพระ
บทสวดมนต์วันพระ
ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมสวดมนต์วันพระ สร้างพลังสติ พลังสมาธิ เสริมจิตให้เข้มแข็ง ทำจิตให้สงบในวันพระใหญ่ หากไม่ได้สวดบ่อยอาจจะสวดในวันพระใหญ่ เช่น วันสำคัญทางศาสนา วันวิสาขบูชา วันมาฆะบูชา วันอาสาฬหบูชา ฯลฯ สำหรับท่านที่สะดวกก็สามารถสวดในวันพระปกติ วันพระขึ้น ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เป็นต้น ขึ้นชื่อว่าการสวดมนต์นั้น ไม่ว่าจะสวดเป็นประจำก่อนนอนทุกวัน หรือสวดมนต์เช้า วันไหน เวลาใด ก็เป็นการดี เป็นการเพิ่มพลังด้านบวกแก่ตนเอง และสามารถแผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ได้ เทพเทวดาก็ได้รับบุญกุศลด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งสามารถลดลัดตัดกรรมแก่เจ้ากรรมนายเวร เป็นอโหสิกรรม ไม่ผูกพันผูกเวรกันต่อไป การสวดมนต์เป็นภาวนามัย เป็นบุญที่สำคัญอย่างยิ่ง ประการหนึ่ง
ข้อดีของการสวดมนต์ ๙ ประการ
๑. ได้สะสมคุณงามความดีให้เกิดมีในจิตใจ
๒. ได้พักจิตจากเรื่องวุ่นวาย ผ่อนคลาย นิ่งสงบ
๓. ได้ใกล้ชิดกับพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น
๔. ได้ขัดเกลาจิตใจให้ โลภ โกรธ หลง น้อยลง
๕. ได้เรียนรู้หลักธรรม มีความฉลาดสามารถสอนตนเอง
ในการแก้ทุกข์ได้
๖. จิตใจอ่อนโยน มีเมตตา รู้และเข้าใจถึงหลักความจริง สุขง่ายทุกข์ยาก เกิดความภูมิใจ ชื่นชม นับถือตนเองได้
๗. เวลาทำสมาธิช่วยให้จิตสงบตั้งมั่นได้เร็ว
๘. ส่งผลดีต่อบิดามารดา บุตรธิดา บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน
๙. เป็นทางนำไปสู่วิมุตติ คือความหลุดพ้น ดังที่ปรากฏในวิมุตตายตนสูตรว่า ทางหลุดพ้นมี ๕ คือ
หลุดพ้นด้วยการ ๑) ฟังธรรม ๒) แสดงธรรม ๓) สาธยายธรรม ๔) คิดพิจารณาธรรม ๕) ปฏิบัติธรรม
บทกราบพระรัตนตรัย
ขณะก้มกราบให้นึกมโนภาพตนก้มกราบพระรัตนตรัย ด้วยกายและใจที่บริสุทธิ์ ให้เกิดความซาบซึ้งในจิตในใจ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)
บทนมัสการพระพุทธเจ้า
ขณะสวดให้น้อมจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
บทไตรสรณคมน์
สวดเพื่อประกาศตนเป็นชาวพุทธรับ เอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิฯ
คำสมาทานศีล ๕
เพื่อชำระกาย วาจา ให้บริสุทธิ์ ก่อนสวดมนต์ชำระใจ
ปาณาติปาตา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
อะทินนาทานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
มุสาวาทา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณีสิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ.
บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
บทสวดอิติปิโส สวดเพื่อรำลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีอานิสงส์ทำให้จิตเลื่อมใสน้อมไปในการละชั่ว ทำดี ชำระจิตให้ผ่องใส
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกวิทู
อะนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ สัตถา
เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา
ธัมโม สันทิฏฐิโก
อะกาลิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะปุคคะลา เอสะ
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)
บทสวดพาหุง มีอานุภาพให้มีชัยชนะและประสบความสำเร็จในทุกสิ่งที่ปรารถนา
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
มาราติเรกมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันติสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธนา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
ทุคคาหะทิฏฐิพุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณะคะเทนะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
เอตาปิ พุทธะชัยมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ.
*เม แปลว่า แก่เรา สวดให้แก่ตัวเรา เต แปลว่า แก่ท่าน หมายถึงสวดให้ผู้อื่น
พระคาถาชินบัญชร
บทสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ
เทวานัง ปิยะตัง สุต๎วา
อิติปิ โส ภะคะวา
ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มะระณัง สุขัง อะระหัง
สุคะโต นะโม พุทธายะ.
๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา
เชต๎วา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
เย ปิวิงสุ นะราสะภา
๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา
อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง
มัตถะเก เต มุนิสสะรา
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง
อุเร สัพพะคุณากะโร
๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัส๎มิง
โมคคัลลาโน จะ วามะเก
๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
อาสุง อานันทะราหุลา
กัสสะโป จะ มะหานาโม
อุภาสุง วามะโสตะเก
๖. เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง
สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน
โสภิโต มุนิ ปุงคะโว
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร
มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง
ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ
อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา
นะลาเฏ ติละกา มะมะ
๙. เสสาสีติ มะหาเถรา
วิชิตา ชินะสาวะกา
เอตาสีติ มะหาเถรา
ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ
อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ
ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ
วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ
อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ
เสสา ปาการะสัณฐิตา
๑๒. ชินาณา วะระสังยุตตา
สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา
พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ
อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ
สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ
เต มะหาปุริสาสะภา
๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.
ชยปริตร (มหากา)
บท มหากาฯ บทสวดขอให้บังเกิดชัยชนะและความสำเร็จในทุกกิจการงาน
มะหาการุณิโก นาโถ
หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา
ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เม ชะยะมังคะลัง.
ชะยันโต โพธิยา มูเล
สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ
ชะยามิ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก
สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง
อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ.
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ
สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง
วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง
ปะณิธีเต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ
ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
บทพระคาถามหาจักรพรรดิ
(สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17 พฤหัส 19 ศุกร์ 21 เสาร์ 10 )
พลังครอบจักรวาล ปรับชะตาร้ายให้กลายเป็นดี
ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เพิ่มบุญบารมี
ปรับภพภูมิแก่สรรพวิญญาณและเจ้ากรรมนายเวร
บทน้อมระลึกถึงหลวงปู่ทวด
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
บทน้อมระลึกถึงหลวงปู่ดู่
นะโม โพธิสัตโต พรหมะปัญโญ
นะโม โพธิสัตโต พรหมะปัญโญ
นะโม โพธิสัตโต พรหมะปัญโญ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสสะ (๓ จบ)
นโม พุทธายะ
พระพุทธะไตรรัตนญาณ
มณีนพรัตน์
สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ
ยะ-ธา-พุท-โม-นะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง
สีวะลี จะ มะหาเถรัง
อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ
เชิญพระเข้าตัว แผ่บุญปรับภพภูมิส่งวิญญาณ
สัพเพ พุทธา
สัพเพ ธัมมา
สัพเพ สังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ
ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ
รักขัง พันธามิ สัพพะโส
(3 หรือ 5 จบ)
พุทธัง อธิฏฐามิ
ธัมมัง อธิฏฐามิ
สังฆัง อธิฏฐามิ
(ให้อธิษฐานจิตแผ่)
จากนั้นอธิษฐานแผ่อุทิศส่วนบุญให้เทพยดา อินทร์ พรหม ยมยักษ์ แล้วอธิษฐานให้สรรพดวงวิญญาณทั้งหลายที่ยังอยู่ในอบายภูมิให้ได้ไปจุติยังภพภูมิใหม่ที่ดี
คาถาเงินล้าน
หลวงพ่อฤๅษีลิงดำแนะให้ภาวนาวันละ ๓ จบ ๙ จบ
ทำให้เจริญทรัพย์ เงินทองไม่ขาดมือ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ. (๓ จบ)
สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม.
พรหมา จะ มะหาเทวา
สัพเพ ยักขา ปะรายันติ.
พรหมา จะ มะหาเทวา
อะภิลาภา ภะวันตุ เม.
มะหาปุญโญ มะหาลาโภ
ภะวันตุ เม.
มิเตพาหุหะติ.
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
พุทธัสสะ มานีมามะ
พุทธัสสะ สะวาโหม.
สัมปะติจฉามิ
เพ็งๆ พาๆ หาๆ ฤๅๆ.
กำหนดจิตทำสมาธิ ๑๐ นาที
จากนั้นให้กล่าวคำแผ่เมตตาแก่ตนเอง
แก่สรรพสัตว์ และกล่าวอุทิศส่วนบุญตามลำดับ ดังนี้
คำแผ่เมตตาแก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ
ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ
ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ
ปราศจากอุปสรรคอันตราย
และความเบียดเบียนทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ
ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.
บทขอขมาพระภูมิเจ้าที่
สวดขอขมาเจ้าที่เจ้าทาง พระภูมิเจ้าที่ต่างๆ ขอให้เทวดาอารักษ์ช่วยปกปักษ์รักษาคุ้มครองป้องกันอันตราย เวลาหลับ
อิติ สุคะโต อะระหัง พุทโธ
นะโม พุทธายะ
ปฐวีคงคา พระภูมมะเทวา
ขะมามิหัง
คำอธิษฐานขออโหสิกรรม
ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้ทำแก่ผู้ใด ในชาตินี้และชาติใดๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมนายเวร จงอโหสิกรรมนั้นให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย และกรรมอันใดที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมนั้นทั้งหมด ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ และผู้มีอุปการคุณทุกท่าน จงมีความสุขความเจริญในทุกถิ่นสถาน ดำรงตนมั่นอยู่ในคำสอนที่ดีงามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าได้ตกไปสู่ทุคติอบายภูมิ
คำแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์
เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด
อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้พยาบาท
เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด
อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกาย สุขใจ
รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
กราบลาพระ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)