บทสวดมนต์พิจารณาสภาวธรรม
รวมบทสวดมนต์พิเศษ หลังทำวัตรเช้า-เย็น เป็นสวดพิจารณาสภาวธรรม ฉบับแปล เพื่อให้ผู้สวดได้เข้าใจในบทสวดและพิจารณาหลักธรรมตาม
ปฐมพุทธภาสิตคาถา
(หันทะ มะยัง ปะฐะมะพุทธะภาสิตะคาถาโย ภะณามะ เส.)
อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง,
เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ ;
คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง,
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างผู้ปลูกเรือนคือตัณหาผู้สร้างภพ,
การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป ;
คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ,
นี่แนะ ! นายช่างผู้ปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,
เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป ;
สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว,
ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว ;
วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา.
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือถึงนิพพาน).
สรณคมนปาฐะ
(หันทะ มะยัง ติสะระณะคะมะนะปาฐัง ภะณามะ เส.)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ;
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรม เป็นสรณะ ;
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์ เป็นสรณะ ;
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ;
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรม เป็นสรณะ ;
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์ เป็นสรณะ ;
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ;
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรม เป็นสรณะ ;
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์ เป็นสรณะ ;
อริยธนคาถา
(หันทะ มะยัง อะริยะธะนะคาถาโย ภะณามะ เส.)
ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา,
ศรัทธาในพระตถาคตของผู้ใด ตั้งมั่นอย่างดีไม่หวั่นไหว ;
สีลัญจะ ยัสสะ กัล๎ยาณัง อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง,
และศีลของผู้ใดงดงาม เป็นที่สรรเสริญที่พอใจ ของพระอริยเจ้า ;
สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง,
ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในพระสงฆ์ และความเห็นของผู้ใดตรง ;
อะทะฬิทโทติ ตัง อาหุ อะโมฆัง ตัสสะ ชีวิตัง,
บัณฑิตกล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่าคนไม่จน ชีวิตของเขาไม่เป็นหมัน ;
ตัส๎มา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง
อะนุยุญเชถะ เมธาวี สะรัง พุทธานะสาสะนัง.
เพราะฉะนั้น เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่,
ผู้มีปัญญาควรก่อสร้างศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรมให้เนืองๆ.
เขมาเขมสรณทีปิกคาถา
(หันทะ มะยัง เขมาเขมะสะระณะทีปิกะคาถาโย ภะณามะ เส.)
พะหุง เว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ,
อารามะรุกขะเจต๎ยานิ มะนุสสา ภะยะตัชชิตา,
มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว,
ก็ถือเอาภูเขาบ้าง, ป่าไม้บ้าง, อารามและรุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ ;
เนตัง โข สะระณัง เขมัง เนตัง สะระณะมุตตะมัง,
เนตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ.
นั่น มิใช่สรณะอันเกษมเลย, นั่น มิใช่สรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว, ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต,
จัตตาริ อะริยะสัจจานิ สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ,
ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว,
เห็นอริยสัจคือความจริงอันประเสริฐสี่, ด้วยปัญญาอันชอบ ;
ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง,
อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง ทุกขูปะสะมะคามินัง,
คือเห็นความทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้,
และหนทางมีองค์แปดอันประเสริฐ, เครื่องถึงความระงับทุกข์ ;
เอตัง โข สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ.
นั่นแหละ เป็นสรณะอันเกษม, นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว, ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
โอวาทปาฏิโมกขคาถา
(หันทะ มะยัง โอวาทะปาฏิโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส.)
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,
การไม่ทำบาปทั้งปวง ;
กุสะลัสสูปะสัมปะทา,
การทำกุศลให้ถึงพร้อม ;
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,
การชำระจิตของตนให้ผ่องใส ;
เอตัง พุทธานะสาสะนัง.
ธรรม ๓ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,
ขันติ คือความอดกลั้น, เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ;
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,
ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง ;
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย ;
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต.
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย.
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,
การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย ;
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร,
การสำรวมในปาติโมกข์ ;
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง,
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค ;
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด ;
อะธิจิตเต จะ อาโยโค,
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ;
เอตัง พุทธานะสาสะนัง.
ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ธัมมคารวาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ธัมมะคาระวาทิคาถาโย ภะณามะ เส.)
เย จะ อะตีตา สัมพุทธา เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ พะหุนนัง โสกะนาสะโน,
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย,
และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย ;
สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน วิหะริงสุ วิหาติ จะ
อะถาปิ วิหะริสสันติ เอสา พุทธานะธัมมะตา.
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้น, ทุกพระองค์ เคารพพระธรรม, ได้เป็นมาแล้วด้วย,
กำลังเป็นอยู่ด้วย และจักเป็นด้วย, เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเช่นนั้นเอง ;
ตัส๎มา หิ อัตตะกาเมนะ มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ สะรัง พุทธานะสาสะนัง.
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้รักตน หวังอยู่เฉพาะคุณเบื้องสูง, เมื่อระลึกได้
ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่, พึงทำความเคารพพระธรรม.
นะ หิ ธัมโม อะธัมโม จะ อุโภ สะมะวิปากิโน,
ธรรมและอธรรม จะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่างหามิได้ ;
อะธัมโม นิระยัง เนติ ธัมโม ปาเปติ สุคะติง.
อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ.
ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง,
ธรรมแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิจ ;
ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ,
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ตน ;
เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณ.
นี่ เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว.
บทพิจารณาสังขาร
(หันทะ มะยัง ธัมมะสังเวคะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)
สัพเพ สังขารา อะนิจจา,
สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น,
มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป ;
สัพเพ สังขารา ทุกขา,
สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น,
มันเป็นทุกข์ทนยาก เพราะเกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป ;
สัพเพ ธัมมา อะนัตตา,
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น,
ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัว ว่าตนของเรา ;
อะธุวัง ชีวิตัง,
ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน ;
ธุวัง มะระณัง,
ความตายเป็นของยั่งยืน ;
อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง,
อันเราจะพึงตายแน่แท้ ;
มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง,
ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ ;
ชีวิตัง เม อะนิยะตัง,
ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง ;
มะระณัง เม นิยะตัง,
ความตายของเราเป็นของเที่ยง ;
วะตะ, ควรที่จะสังเวช ;
อะยัง กาโย, ร่างกายนี้ ;
อะจิรัง, มิได้ตั้งอยู่นาน ;
อะเปตะวิญญาโณ, ครั้นปราศจากวิญญาณ ;
ฉุฑโฑ, อันเขาทิ้งเสียแล้ว ;
อะธิเสสสะติ, จักนอนทับ ;
ปะฐะวิง, ซึ่งแผ่นดิน ;
กะลิงคะรัง อิวะ, ประดุจว่าท่อนไม้และท่อนฟืน ;
นิรัตถัง. หาประโยชน์มิได้.
อภิณหปัจจเวกขณะ
(หันทะ มะยัง อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)
ชะราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต,
เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ ;
พ๎ยาธิธัมโมมหิ พ๎ยาธิง อะนะตีโต,
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ ;
มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต,
เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ ;
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว,
เราจะละเว้นเป็นต่างๆ คือว่าจะพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง ;
กัมมัสสะโกมหิ,
เรามีกรรมเป็นของตน ;
กัมมะทายาโท,
เราเป็นผู้รับผลของกรรม ;
กัมมะโยนิ,
เรามีกรรมเป็นกำเนิด ;
กัมมะพันธุ,
เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ;
กัมมะปะฏิสะระโณ,
เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ;
ยัง กัมมัง กะริสสามิ,
เราจักทำกรรมอันใดไว้ ;
กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา,
ดีหรือชั่วก็ตาม ;
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ,
เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นไป ;
เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง.
เราทั้งหลายพึงพิจารณาอย่างนี้ทุกวันๆ เทอญ.
ภัทเทกรัตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส.)
อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง,
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย,
และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ;
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง,
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา ;
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย.
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้.
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว,
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้ ;
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา,
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราช ซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา ;
เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ.
มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น, ไม่เกียจคร้าน
ทั้งกลางวันกลางคืนว่า, “ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม”.
ติลักขณาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ติลักขะณาทิคาถาโย ภะณามะ เส.)
สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ,
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ;
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา,
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละ เป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด ;
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ,
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ;
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา,
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละ เป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด ;
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ,
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ;
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา,
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละ เป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด ;
อัปปะกา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน,
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก ;
อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ,
หมู่มนุษย์นอกนี้ ย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี่เอง ;
เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน,
ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรม ในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว ;
เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง,
ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุที่ข้ามได้ยากนัก ;
กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต,
จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย แล้วเจริญธรรมขาว ;
โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง,
ตัต๎ราภิระติมิจเฉยยะ หิต๎วา กาเม อะกิญจะโน.
จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ จากที่มีน้ำ, จงละกามเสีย, เป็นผู้ไม่มีความกังวล,
จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพานอันเป็นที่สงัด, ซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก.
ปฏิจจสมุปบาท
(หันทะ มะยัง ปะฏิจจะสะมุปปาทัง ภะณามะ เส.)
กะตะโม จะ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?
อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร ;
สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง,
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ;
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง,
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป ;
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง,
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสฬายตนะ ;
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส,
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ ;
ผัสสะปัจจะยา เวทะนา,
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ;
เวทะนาปัจจะยา ตัณหา,
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ;
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง,
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน ;
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว,
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ;
ภะวะปัจจะยา ชาติ,
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ;
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง,
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดมีชราและมรณะ ;
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ,
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมี ;
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ,
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, ย่อมเกิดมี ด้วยอาการอย่างนี้ ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปฏิจจะสะมุปปาโท,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ;
อะวิชชายะเตîววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ,
ก็เพราะอวิชชานั่นแล จางคลายดับโดยไม่เหลือ, สังขารจึงดับ ;
สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ,
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ;
วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ,
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ;
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ,
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ;
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ,
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ;
ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ,
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ;
เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ,
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ;
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ,
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ;
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ,
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ;
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ,
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ;
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง,
เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ;
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ,
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ;
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ.
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, ย่อมเกิดมี ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส.)
หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ! เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า :-
วะยะธัมมา สังขารา,
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ;
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ;
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา.
นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้าย ของพระตถาคตเจ้า.